วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

...คู่มือการอบรมโครงการต้นกล้าอาชีพ...






...การฝึกอบรมโครงการต้นกล้าอาชีพ...


โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
๑. หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากผลกระทบจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงเกิดการว่างงานขึ้น ทั้งเกิดจากการเลิกจ้าง ผู้สำเร็จการ ศึกษาใหม่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน และการว่างงานตามธรรมชาติ ซึ่งในปี พ.ศ.๒๕๕๑ มีแรงงานที่ว่างงานแล้วประมาณ ๕ แสนคน และ คาดว่าในปี พ.ศ.๒๕๕๒ จะมีเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน ดังนั้น เพื่อบรรเทาปัญหาการว่างงาน รัฐบาลจึงกำหนดมาตรการส่ง เสริมการจ้างงานในระยะสั้น การเร่งรัดบรรจุกำลังคนในตำแหน่งงานว่าง และการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเพื่อสร้างโอกาสในการมี งานทำขึ้น
โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนนี้ จึงเป็นโครงการตามมาตรการเร่งด่วน ที่จะ เพิ่มศักยภาพให้ผู้ว่างงานให้มีความสามารถและทักษะเพิ่มขึ้น มีความตื่นตัว รับรู้ในความสำคัญของการสร้างงาน สร้างธุรกิจในระดับ ชุมชนท้องถิ่น ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะสามารถนำความรู้และทักษะกลับไปทำงานในภูมิลำเนาได้ หลักการในการฝึกอบรม จะคำนึงถึง
ภูมิลำเนาบ้านเกิด ครอบครัว พื้นความรู้และทักษะที่ได้รับจากการทำงานในอาชีพเดิม ภาค/จังหวัด และศักยภาพความเจริญในแต่ละ
เขตพื้นที่ทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม การฝึกอบรมจะเป็นการต่อยอดความรู้และทักษะเพื่อพัฒนาความชำนาญเฉพาะทางใน
วิชาชีพ รองรับการกลับไปสร้างงาน ทำงานที่เป็นประโยชน์ในท้องถิ่นบ้านเกิด ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพของ หมู่บ้านและชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงให้มีมาตรฐานและเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นการจัดทำวิสาหกิจชุมชน การเพิ่มผู้ ประกอบการอิสระรายย่อยในชุมชน หรือพัฒนาทักษะวิชาชีพเพื่อคืนกลับเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และ/หรือมีทางเลือกใหม่เข้าสู่ภาค อุตสาหกรรมด้วยคุณภาพฝีมือแรงงานที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และ/หรือปรับเปลี่ยนตนเองเป็นผู้ประกอบ การตามความสนใจและความถนัด รวมทั้งมีความรู้ความสามารถด้านการเกษตรเพื่อยังชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อดำรงตน และครอบครัวอยู่อย่างมีความสุขได้ ในระยะยาวยังสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของประเทศและสร้าง
มูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย
๒. กรอบความคิด
การพัฒนาศักยภาพของผู้ว่างงานให้มีความรู้และทักษะใหม่ๆเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการเลือกประกอบอาชีพ โดยโครงการเพิ่มศักยภาพ
ผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนจะเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และเสนอแนะแหล่งทุนเพื่อการ ประกอบอาชีพในชุมชนถิ่นกำเนิด ทั้งการเป็นผู้ประกอบการ การทำวิสาหกิจชุมชน การประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว เป็นการช่วยให้ผู้ว่างงานนำความสามารถกลับไปพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ช่วยยกระดับชุมชน และร่วมกันสร้างชุมชนที่ยั่งยืน ทั่วประเทศ
๓ วัตถุประสงค์
๑. เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงาน ผู้ที่กำลังอยู่ในข่ายจะถูกเลิกจ้างงาน ผู้ถูกเลิกจ้างงาน และผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่ยังไม่มี งานทำให้มีความรู้และทักษะเพื่อพัฒนาความชำนาญเฉพาะทางในวิชาชีพต่างๆ ให้สามารถกลับไปสร้างงาน สร้างรายได้ สร้าง ประโยชน์ให้แก่หมู่บ้านชุมชนถิ่นกำเนิดได้
๒. เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้างงาน และผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ให้มีรายได้ในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
แก่ตนเอง สามารถหาทางเลือกใหม่ๆในการเลือกประกอบอาชีพ เพื่อรับผิดชอบตนเองและไม่เป็นภาระกับครอบครัวและสังคม
๔. กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ว่างงาน จำนวนประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ คน โดยให้ความสำคัญกับผู้ที่จะกลับภูมิลำเนาก่อน แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้
๑. ผู้ว่างงานสนใจฝึกอบรมอาชีพ รวมทั้งประชาชนผู้สนใจเข้ารับการอบรมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำความรู้กลับไปใช้
ในหมู่บ้านชุมชนท้องถิ่น
๒. ผู้ที่กำลังอยู่ในข่ายจะถูกเลิกจ้างงาน และภาคธุรกิจต้องการให้เพิ่มทักษะโดยมีข้อตกลงให้ทำงานต่อหลังการฝึกอบรม

๓. ผู้ถูกเลิกจ้างแรงงานจากภาคอุตสาหกรรมและประสงค์จะเพิ่มพูนทักษะมากขึ้นและหลากหลาย เพื่อพัฒนาและยกระดับ
มาตรฐานฝีมือแรงงานของตนเอง
๔. ผู้สำเร็จการศึกษา ให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ
๕. แนวทางการดำเนินงาน
๑. กำหนดให้มีสถาบันจัดฝึกอบรม (Service Provider) ที่หลากหลาย ประกอบด้วย กลุ่มผู้รับผิดชอบ ๓ กลุ่มหลัก ได้แก่
๑) มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ
สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
๒) กลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคม เช่น เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน สถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน มูลนิธิ สมาคม องค์การ
เอกชน และภาคธุรกิจเอกชน เป็นต้น
๓) กลุ่มส่วนราชการอื่น ที่มีกิจกรรมด้านการฝึกอบรม เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น
แต่ละหน่วยเสนอหลักสูตรฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแต่ละประเภท พร้อมทั้งชี้ให้เห็นโอกาสในการมีงานทำเมื่อผ่านการฝึกอบรมแล้ว โดยข้อเสนอประกอบด้วย เนื้อหาสาระหลักสูตรและวิธีการที่ชัดเจน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ขนาด/จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อหลักสูตร สถานที่ฝึกและค่าใช้จ่ายต่อหัว เริ่มฝึกอบรมได้ตั้งแต่ เดือนเมษายน เป็นต้นไป
๒. โครงสร้างหลักสูตรประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ๒ ส่วน ส่วนแรก ได้แก่ ความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ เช่น ทัศนคติ ความรับผิดชอบ วินัยในการทำงาน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความยั่งยืนในชุมชน ฯลฯ และส่วนที่สอง ได้แก่ ความรู้ความ สามารถในวิชาชีพ เช่น การเกษตรเพื่อยังชีพ การใช้พลังงานทดแทน การค้าขาย การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการประกอบอาชีพ เช่น การบัญชี เป็นต้น หลักสูตรการฝึกอบรมควรมีลักษณะเบ็ดเสร็จสามารถประกอบอาชีพได้เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม ทั้งการประกอบ อาชีพในภาคเกษตร การประกอบอาชีพในวิสาหกิจชุมชน การประกอบอาชีพในสาขาบริการ เช่น การท่องเที่ยว การดูแลผู้สูงอายุ การทำงานธุรการ การประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมและบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกำลังคนในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ ภาคเศรษฐกิจและสังคมเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว ตลอดทั้งการประกอบอาชีพอิสระในชุมชน
๓. สร้างความเชื่อมโยงระหว่างหลักสูตรการฝึกอบรมกับการจ้างงาน และการประกอบอาชีพภายใต้โครงการต่างๆ ของแผน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ เช่น โครงการคืนครูให้นักเรียน การจ้างงานภายใต้โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน เป็นต้น ตลอดจน ความร่วมมือกับสถานประกอบการต่างๆ
๔. การจัดระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศเพื่อรองรับหลักสูตรการฝึกอบรมที่มีการจัดหมวดหมู่ มีรหัสชัดเจนในแต่ละ หลักสูตร สถานที่ จำนวนผู้เข้าฝึกอบรม เป็นต้น ข้อมูลการลงทะเบียนผู้ว่างงานที่สามารถกำหนดให้มีการลงทะเบียนได้ทั่วประเทศ เช่น ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด และสถาบันการศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้ ระบบฐานข้อมูลผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถขจัดการลงทะเบียน ซํ้าซ้อนได้ด้วย
๕. ให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อที่หลากหลายเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางและทั่วถึง โดยจะเน้นสร้าง ความเข้าใจในหลักการของโครงการ วิธีการลงทะเบียนเข้าโครงการฯ การเปิดตัวโครงการฯ และการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเป็น ระยะๆ และจัดให้มีหน่วยบริการข้อมูลข่าวสารของโครงการ (call center)
๖. จัดระบบติดตามการปฏิบัติงาน และการประเมินผลโครงการอย่างใกล้ชิด ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการส่งผู้ผ่านการ อบรมในแต่ละรุ่นลงสู่พื้นที่ชุมชนถิ่นกำเนิด และสนับสนุนให้เกิดการทำวิสาหกิจชุมชน และ/หรือธุรกิจ และการจ้างงานในพื้นที่ โดย ประสานด้านแหล่งทุนและการให้คำปรึกษาต่างๆ เช่น กรณีจะประกอบอาชีพใหม่ เป็นต้น
๗. ค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรมจัดสรรโดยตรงให้สถาบันจัดฝึกอบรม (Service Provider) ตามจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้ลง ทะเบียนไว้ อัตราการเบิกจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนการจัดฝึกอบรมให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ หากมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมออก กลางคันต้องรายงานให้คณะกรรมการบริหารฯ ทราบโดยด่วน

๖. ขั้นตอนและวิธีการ
๑. การกำหนดวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรม
๑) การจัดหาสถาบันจัดฝึกอบรม (Service Provider)

มีการจัดประชุมชี้แจงให้แก่กลุ่มหน่วยงานที่สนใจจะเป็นสถาบันจัดฝึกอบรมรวม ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑. กลุ่มมหาวิทยาลัย/สถาบัน
การศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถานศึกษาในสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา รวม ๓๒ หน่วยงาน ๒. กลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคม และ ๓. กลุ่มส่วนราชการอื่นๆ
ที่ปฏิบัติงานด้านฝึกอบรม เข้าประชุมรวม ๕๑ หน่วยงาน นอกจากนี้ ได้มีการติดต่อให้ข้อมูลแก่หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน และกลุ่มผู้สนใจอีกเป็นจำนวนมาก โดยสถาบันจัดฝึกอบรมทั้ง ๓ กลุ่ม ได้เสนอหลักสูตรฝึกอบรมรวมทั้งสิ้นกว่า
๑๔,๐๐๐ หลักสูตร
๒) การวิเคราะห์กลั่นกรองหลักสูตรฝึกอบรม
การวิเคราะห์กลั่นกรองหลักสูตรฝึกอบรมให้เป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯให้ความเห็น
ชอบประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน ได้แก่ ความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ และ ความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และ
มีลักษณะเบ็ดเสร็จ สามารถประกอบอาชีพในวิสาหกิจชุมชน ประกอบอาชีพในสาขาบริการ เช่น การท่องเที่ยว การดูแล
ผู้สูงอายุ การทำงานธุรการ การประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมและบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกำลังคนในการ
สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาคเศรษฐกิจและสังคมเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว รวมทั้งการประกอบอาชีพอิสระในชุมชน คณะอนุกรรมการ
กลั่นกรองหลักสูตรฝึกอบรม มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลักในการดำเนินงาน และมี
ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคธุรกิจเอกชนและส่วนราชการร่วมเป็นคณะทำงาน
๓) เกณฑ์ในการวิเคราะห์กลั่นกรองหลักสูตรฝึกอบรม
(๑) เป็นหลักสูตรระยะสั้นไม่เกิน ๑ เดือนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการที่มุ่งให้ผู้ฝึกอบรมกลับไปทำงานประกอบอาชีพ
ในภูมิลำเนาได้
(๒) เป็นหลักสูตรที่อบรมเสร็จสิ้นแล้วสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
(๓) มีข้อมูลครบถ้วน มีรายละเอียดเกี่ยวกับสถาบันจัดฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย สาขาอาชีพ สาระของหลักสูตร ระยะเวลา
สำหรับการฝึกอบรม เวลาเริ่มการฝึกอบรม ความสามารถในการจัดฝึกอบรมในแต่ละรุ่น (Min-Max) จำนวนรุ่นที่สามารถ
จัดได้ และสถานที่ตั้งของหน่วยฝึกอบรม เป็นต้น
๔) ยืนยันการฝึกอบรมตามหลักสูตร
หลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรฯจะส่งให้สถาบันจัดฝึกอบรมพิจารณายืนยัน
ขอจัดฝึกอบรมและ/หรือเพิ่มเติมรายละเอียดที่จำเป็นก่อนนำเข้าเสนอบน Web Page ของโครงการเพื่อให้ผู้ว่างงานลงทะเบียน
เลือกหลักสูตรฝึกอบรมตามความสนใจ
๒. การกำหนดวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
จากจำนวนผู้ว่างงานในปี พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งมีจำนวนถึง ๕ แสนคน และคาดว่าในปี พ.ศ.๒๕๕๒ จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน นั้น เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้โครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานฯ คำนึงถึงแนวทางการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงาน ซึ่งโครงการฯ ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับกระบวนการปฏิบัติงานในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยระบบสารสนเทศจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางระหว่างโครงการฯ ผู้ว่างงาน สถาบันจัดฝึกอบรม และองค์กร
ผู้จ้างงาน เป็นต้น
การทำงานของระบบได้ออกแบบบนพื้นฐานการทำงานของโครงการฯ ตั้งแต่ต้นกระบวนการ คือเริ่มรับสมัครผู้ว่างงาน ไปจนจบกระบวนการของโครงการฯ คือการติดตามผลการฝึกอบรม และส่งกลับผู้ผ่านการอบรมกลับไปยังชุมชนท้องถิ่น โดยระบบจะออกแบบแยกเป็นระบบย่อย (Module) เพื่อง่ายต่อการจัดการและการขยายระบบ และสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ ในการเข้าถึงระบบย่อยเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานต่างๆ โดยรายละเอียดของระบบประกอบด้วย
๑) ระบบฐานข้อมูลสำหรับผู้ว่างงานที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ
เป็นระบบเก็บและจัดการฐานข้อมูลของผู้ว่างงานที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการบริหารและจัดการ
โครงการฯร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการตั้งแต่ต้นจนจบ
๒) ระบบบริหารจัดการขัอมูลและประกาศของโครงการฯ
เป็นระบบบริหารจัดการเนื้อหา (Content Management System) เพื่อแสดงความเคลื่อนไหว ของโครงการฯ ตั้งแต่ต้นจน
จบโครงการฯ รวมทั้งเป็นช่องทางเข้าสู่ระบบย่อยเพื่อเข้ามาทำงานตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

๓) ระบบลงทะเบียนสำหรับผู้ว่างงาน เพื่อเข้ารับสิทธิการฝึกอบรม
เป็นระบบให้ผู้ว่างงานลงทะเบียนรายละเอียดส่วนตัว ชื่อ รหัสบัตรประจำตัวประชาชน ภูมิลำเนาเดิมและที่อยู่ปัจจุบันที่
ติดต่อได้ อาชีพเดิมและสถานที่ทำงาน เริ่มว่างงานเมื่อใด ความต้องการฝึกอบรมและการประกอบอาชีพหลังการฝึกอบรม
เป็นต้น
๔) ระบบตรวจสอบตัวตนของผู้ลงทะเบียน
ระบบจะเก็บข้อมูล เลขประจำตัวประชาชน ข้อมูลประกันสังคม เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้ว่างงาน ณ สถานที่จัดฝึก
อบรมตามที่ผู้ว่างงานได้รับสิทธิให้เข้าฝึกอบรม ซึ่งสถานที่จัดฝึกอบรมจะตรวจสอบสำเนาบัตรประชาชนได้ตามต้องการ
๕) ระบบการคัดกรองผู้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เข้ารับการฝึกอบรม
เป็นระบบคัดกรองผู้ว่างงานที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้ารับการฝึกอบรมโดยคัดเลือกตามเกณฑ์กลุ่มเป้าหมาย ๔ กลุ่ม คือ ผู้
ว่างงานที่สนใจฝึกอบรมอาชีพ ผู้ที่กำลังอยู่ในข่ายถูกเลิกจ้าง ผู้ถูกเลิกจ้างแรงงานจากภาคอุตสาหกรรม และผู้สำเร็จการ
ศึกษา ซึ่งระบบสามารถคัดกรองและแยกผู้ว่างงานออกเป็นกลุ่มดังกล่าวข้างต้นได้ เพื่อการจัดการและติดตามผล นอกจาก
นี้ ระบบสามารถกำหนดสิทธิการเข้ารับการฝึกอบรม เช่น ผู้อยู่ในกองทุน กยศ. เป็นต้น
๖) ระบบการคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตร
เป็นระบบคัดแยกผู้เข้าร่วมโครงการออกเป็น ๔ กลุ่มตามความต้องการประกอบอาชีพหลังฝึกอบรม ได้แก่ ปฏิบัติงานใน
กองทุนเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้าน ประกอบอาชีพของตนเอง ปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
หรือกลับเข้าทำงานในหน่วยเดิม ซึ่งระบบจะทำการคัดเลือกและกำหนดให้ผู้ว่างงานสามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้เฉพาะใน
หลักสูตรที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการประกอบอาชีพเท่านั้น ซึ่งจะให้มีตัวเลือก ๕ หลักสูตร แต่ได้รับสิทธิฝึกอบรมเพียง ๑
หลักสูตรต่อคนเท่านั้น
๗) ระบบบริหารจัดการหลักสูตร
เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารและจัดการจำนวนผู้สมัครเข้ารับการอบรมตามจำนวนที่นั่งในแต่ละหลักสูตรของแต่ละสถาบัน
ได้แก่ การกำหนดตารางการจัดฝึกอบรม การจัดจำนวนรอบการฝึกอบรม การจัดที่นั่งของแต่ละรอบ การจองที่นั่ง การขึ้น
บัญชีสำรองรายชื่อในกรณีที่นั่งเต็ม เป็นต้น
๘) ระบบการติดตามและรายงานผลการฝึกอบรมสำหรับสถาบันจัดฝึกอบรม
เป็นระบบอำนวยความสะดวกให้แก่สถาบันจัดฝึกอบรมในการรายงานผลการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งในภาพ
รวมและในรายละเอียด รวมทั้งการประเมินผลหลักสูตรและการจัดฝึกอบรม เพื่อให้โครงการสามารถติดตามผลการปฏิบัติ
งานของสถาบันจัดฝึกอบรมได้อย่างใกล้ชิดและรวดเร็วทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด
๙) ระบบการติดตามและรายงานตัวของผู้ผ่านการฝึกอบรมและกลับไปปฏิบัติงานในท้องถิ่น
เป็นระบบช่วยอำนวยความสะดวกในการรายงานความเคลื่อนไหวของผู้ผ่านการฝึกอบรมเมื่อกลับไปปฏิบัติงานในท้องถิ่น
หรือในหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้โครงการสามารถติดตามและประเมินผลผู้ผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนดได้
๑๐) Help Desk
เป็นระบบช่วยอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓. การกำหนดแนวทางหลักเกณฑ์การจัดสรรและวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณ
ตามที่คณะรัฐมนตรีในการประชุมปรึกษาหารือ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม และ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ ได้มีมติอนุมัติในหลักการ กรอบแผนงานโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานฯ จำนวน ๖,๙๐๐ ล้านบาท โดยมีกรอบรายการค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย ดังนี้
๑) ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม
(๑) ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรม ๕,๐๐๐ บาท/คน/เดือนโดยเฉลี่ย
กำหนดให้จ่ายให้สถาบันจัดฝึกอบรม เช่น ส่วนราชการ มหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม มูลนิธิ สมาคม องค์กรเอกชน เป็นต้น
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดอบรม เช่น ค่าวิทยากร ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้า ค่านํ้าประปา) และค่าใช้
จ่ายอื่นๆ โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
(๒) ค่าเบี้ยเลี้ยงระหว่างการอบรม ๔,๘๐๐ บาท/คน/เดือนโดยเฉลี่ย จ่ายตามวันที่เข้าอบรมจริง จำนวน ๑๖๐ บาท/คน/วัน โดยผู้
เข้าอบรมแต่ละคนต้องแสดงหลักฐานการรับเงินรายบุคคล

(๓) ค่าพาหนะเดินทางระหว่างการอบรม ๗๒๐ บาท/คน/เดือน โดยเฉลี่ยจ่ายตามวันที่เข้าอบรมจริง จำนวน ๓๐ บาท/คน/วัน
โดยผู้เข้าอบรมแต่ละคนต้องแสดงหลักฐานการรับเงินรายบุคคล
(๔) ค่าพาหนะเดินทางมาเข้ารับการฝึกอบรมครั้งแรก ในอัตราเหมาจ่าย ๑,๐๐๐ บาท/คน
๒) ค่าใช้จ่ายในกรณีผ่านการอบรมแล้ว ผู้ผ่านการฝึกอบรมประสงค์จะกลับไปประกอบอาชีพในภูมิลำเนา
กรณีผ่านการฝึกอบรมแล้วและประสงค์จะกลับภูมิลำเนา สามารถขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการประกอบอาชีพจากโครงการฯ ดังนี้
(๑) เงินอุดหนุนเพื่อการประกอบอาชีพ จำนวน ๔,๘๐๐ บาท/คน/เดือน เป็นเวลาไม่เกิน ๓ เดือน ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติจากคณะ
กรรมการบริหารฯ
(๒) ค่าพาหนะเดินทางกลับภูมิลำเนา เหมาจ่ายในอัตรา ๑,๐๐๐ บาท/คน ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารฯ และ
จะได้รับเงินค่าพาหนะเดินทางกลับภูมิลำเนา พร้อมกับเงินอุดหนุนเพื่อการประกอบอาชีพในเดือนแรก โดยการรับรองการ
กลับไปทำงานในภูมิลำเนาจากฝ่ายปกครองในพื้นที่ (กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน หรือประธานชุมชน และนายอำเภอ หรือผู้อำนวย
การเขต หรือนายกเทศมนตรี หรือนายกเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นหน่วยเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการประกอบอาชีพและค่าเดินทางกลับ
ภูมิลำเนาให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมแล้ว และประสงค์จะกลับไปทำงานในชุมชนภูมิลำเนา โดยมีกระบวนการ ดังนี้
๑) ให้ Service Provider แจกแบบฟอร์มให้ผู้ผ่านการอบรมที่ประสงค์จะกลับภูมิลำเนาเพื่อไปประกอบอาชีพลงทะเบียน
ตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมทั้ง ส่งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของ
ผู้เข้ารับการอบรม ตามที่คณะกรรมการบริหารฯกำหนดและให้ Service Provider รวบรวมส่งเอกสารดังกล่าวทั้งหมด
ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
๒) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อผู้ผ่านการอบรมและประสงค์จะกลับภูมิลำเนาเพื่อไปประกอบอาชีพ
เสนอคณะกรรมการบริหารฯ พิจารณาอนุมัติ
๓) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารฯ ต่อสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการ
จัดสรรงบประมาณ
๔) สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
๕) ผู้ผ่านการอบรมฯ ต้องไปรายการตัวต่อพนักงานฝ่ายปกครอง เพื่อรับรองการกลับไปประกอบอาชีพหรือทำ�ประโยชน์ให้
ชุมชน ภายในวันที่ ๗ ของเดือน ดังนี้
(๑) กรณีที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตที่มีกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ให้กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน และนายอำเภอรับรอง
(๒) กรณีที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลหรือเมืองพัทยา ให้ประธานชุมชน และนายกเทศมนตรี หรือนายกเมืองพัทยา รับรอง
แล้วแต่กรณี
(๓) กรณีที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ประธานชุมชน และผู้อำนวยการเขตรับรอง
๖) ให้นายอำเภอ หรือนายกเทศมนตรี หรือนายกเมืองพัทยา หรือผู้อำนวยการเขต ในกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี มี
หนังสือแจ้งการรับรองตามข้อ ๕) ส่งให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีภายในวันที่ ๑๕ ของเดือน
๗) กรณีผู้ผ่านการอบรม รายงานตัวภายหลังวันที่ ๗ ของเดือนให้พนักงานฝ่ายปกครองตาม ๖) แจ้งสำนักงานปลัดสำนัก
นายกรัฐมนตรีทราบในเดือนถัดไป
ทั้งนี้ เป้าหมายในการดำเนินโครงการ ๖ เดือนแรก (เม.ย.-ก.ย. ๒๕๕๒) กำหนดฝึกอบรม ผู้ว่างงานจำนวนประมาณ
๒๔๐,๐๐๐ คน

















1 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าทำใบประกอบวิชาชีพช่างไฟฟ้าหายสามารถไปขอใหม่ได้ไหมค่ะ

    ตอบลบ